หลักการและเหตุผล:

สาหร่ายและแพลงก์ตอนเป็นแหล่งอาหารและเป็นผู้ผลิตที่สำคัญของโลก เนื่องจากมีความหลากหลายทางชนิดพันธุ์สูง และมีปริมาณอยู่มากมายในธรรมชาติ มีการนำมาใช้ประโยชน์ทั้งในชุมชน อุตสาหกรรมพื้นบ้าน รวมถึงอุตสหกรรมขนาดใหญ่ เช่น อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องสำอางค์ วัสดุภัณฑ์ และอุตสาหกรรมยา เป็นต้น นอกจากนี้ด้วยรูปแบบการดำรงชีวิตที่เฉพาะเจาะจงดังนั้นในบางชนิดจึงสามารถนำไปใช้เป็นตัวชี้วัดคุณภาพของสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี สาหร่ายและแพลงก์ตอนถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบสิ่งมีชีวิตพื้นฐานที่สำคัญของโลกใบนี้ที่สามารถต่อยอดเพื่อพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมสู่ความยั่งยืนได้ การประชุมวิชาการสาหร่ายและแพลงก์ตอนเป็นกิจกรรมหนึ่งของชมรมสาหร่ายและแพลงก์ตอนแห่งประเทศไทย ซึ่งจัดขึ้นสลับกับกิจกรรมการฝึกอบรม โดยระยะแรก เป็นการจัดประชุมกลุ่มย่อยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการประชุมประจำปีของโครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (BRT) ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ จึงได้เริ่มจัดการประชุมครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยใช้ชื่อว่า “การประชุมวิชาการสาหร่ายและแพลงก์ตอนแห่งชาติ” และต่อมาได้มีการจัดการประชุมวิชาการเช่นนี้ขึ้นทุก ๆ ๒ ปี สลับกับการจัดฝึกอบรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษา และนักวิจัยได้มีเวทีในการนำเสนอผลงานวิจัย และแลกเปลี่ยนความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสาหร่ายและแพลงก์ตอนในทุก ๆ ด้าน ทำให้เกิดการพัฒนาศักยภาพเชิงวิชาการของบุคลากร และนำไปสู่การพัฒนางานด้านสาหร่ายและแพลงก์ตอน

กิจกรรมการจัดประชุมวิชาการสาหร่ายและแพลงก์ตอนแห่งชาติ ได้ดำเนินการมาแล้ว ๙ ครั้ง โดยมีมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เวียนกันเป็นเจ้าภาพ และในการประชุมครั้งหลังสุด ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ จังหวัดกรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ ๒๑-๒๒ มีนาคม ๒๕๖๒ ซึ่งคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นเจ้าภาพ ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นเจ้าภาพจัดประชุมวิชาการสาหร่ายและแพลงก์ตอนแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๐ ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในวันที่ ๒๓-๒๔ มีนาคม ๒๕๖๖ ณ The Emerald Hotel กรุงเทพมหานคร ซึ่งในครั้งนี้ได้กำหนด Theme ของการประชุมว่า “นวัตกรรมสาหร่ายและแพลงก์ตอนเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” “Algae & Plankton Innovation for Sustainable Development Goals (SDGs)”

 

วัตถุประสงค์โครงการ:

๑. เพื่อเป็นเวทีสำหรับการนำเสนอและเผยแพร่ผลงานวิจัยเกี่ยวกับชีววิทยา นิเวศวิทยา การเพาะเลี้ยง และการใช้ประโยชน์จากสาหร่ายและแพลงก์ตอน

๒. เพื่อเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ นักวิจัยรุ่นใหม่ นิสิต นักศึกษาและผู้สนใจ อันจะก่อให้เกิดความร่วมมือทางวิชาการในอันที่จะใช้ประโยชน์จากสาหร่ายและแพลงก์ตอนอย่างยั่งยืน

๓. เพื่อพัฒนาศักยภาพเชิงวิชาการของบุคลากรรุ่นใหม่ และนำไปสู่การพัฒนางานด้านสาหร่ายและแพลงก์ตอนให้ก้าวหน้าต่อไป

๔. เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกในกระบวนวิชาของภาควิชาชีววิทยา สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร สาขาเทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม สาขาวิชาแพทย์แผนไทย

 

 

กำหนดการลงทะเบียนและส่งผลงาน

กิจกรรม กำหนดการ
เริ่มลงทะเบียน/ส่งบทคัดย่อ/บทความฉบับสมบูรณ์ 15 ธันวาคม 2565
วันสุดท้ายของการส่งบทคัดย่อ/บทความฉบับสมบูรณ์ 22 กุมภาพันธ์ 2566
แจ้งผลการพิจารณา 10 มีนาคม 2566
วันสุดท้ายของการส่งบทคัดย่อ/บทความฉบับสมบูรณ์ (ฉบับแก้ไข) 15 มีนาคม 2566
วันสุดท้ายของการลงทะเบียน 15 มีนาคม 2566


วิธีการชำระเงิน

ชื่อบัญชี “การจัดประชุมวิชาการสาหร่ายและแพลงก์ตอนแห่งชาติครั้งที่ 10
เลขที่บัญชี 020352154171
ธนาคารออมสิน สาขารามคำแหง
ประเภทออมทรัพย์

*เมื่อชำระเงินแล้ว โปรดส่งหลักฐานการชำระเงินเข้ามาในระบบ เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง

สอบถามข้อมูลการชำระเงินได้ที่

ผศ.ดร.วริษา ต่างใจ เบอร์โทร 0801253782


Announcement

ข่าวประกาศ ข่าวสารการประชุม

Conferrence

Sponsors